0

เอสโตรเจนลดลง...เมื่อเข้าสู่วัยทอง


2021-10-19 15:06:37
#No.๖ Venus #วิตามินและอาหารเสริม #วิตามินคุณหมอ #ผู้หญิง #การดูแลสุขภาพ #วัยทอง #เอสโตรเจน


เอสโตรเจนลดลง...เมื่อเข้าสู่วัยทอง

           งานวิจัยพบว่าไฟโตเอสโตรเจนออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนตามธรรมชาติของผู้หญิง เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่มีความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์ เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตเอสโตรเจนลดลง ทำให้มีอาการต่าง ๆ ที่เรียกกันว่าอาการของวัยทอง ดังนี้ อาการร้อนวูบวาบ คัดเต้านม ความต้องการทางเพศและน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดลดลง อ่อนแรง ประจำเดือนมาไม่ปกติ และอารมณ์แปรปรวน รวมถึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น พบว่าการทานไฟโตเอสโตรเจน ช่วยลดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่พบในช่วงวัยทองได้[2]





ไฟโตเอสโตรเจนช่วยป้องกันโรคได้

ไฟโตรเจนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ รวมถึงการกลับมาเป็นซ้ำในผู้ที่ป่วยและรักษาจนหาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดปริมาณอินซูลินในเลือด รวมถึงไขมันไม่ดี LDL (Low-density lipid) ทำให้มีช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจได้อีกด้วย[2]





ประโยชน์ของไฟโตเอสโตรเจนต่อกระดูกในช่วงวัยที่แตกต่างกัน

พบว่าการบริโภคอาหารที่มีปริมาณไฟโตเอสโตรเจนมาก เช่น ถั่วเหลือง โดยผู้หญิงวัยทองเป็นวัยที่จะเห็นประโยชน์จากไฟโตเอสโตรเจนชัดเจนที่สุด[3] แต่การรับประทานตั้งแต่อายุยังน้อยก็พบว่ามีประโยชน์เช่นกัน โดยช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกในผู้หญิงวัยกลางคน ลดการสูญเสียมวลกระดูกในช่วงที่กำลังเข้าสู่วัยทองได้ด้วย





ไฟโตเอสโตรเจนกับเรื่องสิว 

ไฟโตเอสโตรเจนมีผลในการเพิ่มการหลังฮอร์โมนเพศ การเพิ่มขึ้นของปริมาณเอสโตรเจนส่งผลดีต่อผิว โดยส่งผลให้ต่อมไขมันมีขนาดเล็กลงและผลิตน้ำมันน้อยลง งานวิจัยพบว่าในผู้หญิงที่มีสิว มักมีปริมาณฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อว่า เทสโทสเทอโรน (Testosterone) สูงขึ้น โดยกรณีนี้ไม่พบในผู้ชาย ทำให้สมดุลของฮอร์โมนเพศเสียไป การรักษาสิวจึงไม่ใช่การทานยาเพื่อลดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน แต่เป็นการเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนให้กลับมาสมดุลแทน เมื่อผิวมันน้อยลง จะช่วยไม่ให้สิวเดิมอักเสบ และลดการเกิดสิวใหม่ โดยเฉพาะในช่วงก่อนมีประจำเดือนได้[4]



Dii Supplements ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดี ผิวสดใสในทุกวันนะคะ”



References
 
1Domínguez-López I, Yago-Aragón M, Salas-Huetos A, Tresserra-Rimbau A, Hurtado-Barroso S. Effects of Dietary Phytoestrogens on Hormones throughout a Human Lifespan: A Review. Nutrients. 2020;12(8):2456. Published 2020 Aug 15.

2Rietjens IMCM, Louisse J, Beekmann K. The potential health effects of dietary phytoestrogens. Br J Pharmacol. 2017;174(11):1263-1280.

2Castelo-Branco C, Soveral I. Phytoestrogens and bone health at different reproductive stages. Gynecol Endocrinol. 2013;29(8):735-743.

4Clark AK, Haas KN, Sivamani RK. Edible Plants and Their Influence on the Gut Microbiome and Acne. International Journal of Molecular Sciences. 2017; 18(5):1070.







8/121 Work Place รัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230
02-117-4825    l  Line :  @diisupplements l   dii.supplements@gmail.com



Copyright ® 2019 ketshopweb.com