0

แสง และอุณหภูมิในห้อง สำคัญต่อการนอนจริงหรอ ?


2020-09-15 11:51:49
#แสงและอุณหภูมิกับการนอน #แสงสว่างในห้องนอน #อุณหภูมิในห้องนอน #การนอน #อดนอน #นอน #เพิ่มการนอน #การดูแลสุขภาพ #การนอนที่ดี #No.9 Pillow #No.9 #Pillow #sleepy #sleep #Supplement #Supplements #วิตามินและอาหารเสริม #วิตามินช่วยหลับ #วิธีการดูแลสุขภาพ #เมลาโทนิน #Melatonin #แสงและอุณหภูมิ #แสงและอุณหภูมิในห้อง #แสงสว่าง #อุณหภูมิ

แสงและอุณหภูมิ ทำให้การนอนไม่มีประสิทธิภาพจริงหรือเปล่า 


            แสงสว่างเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ในการดำรงชีวิต แต่กลับส่งผลอย่างมากในขณะนอนหลับ ซึ่งระหว่างการนอนหลับ ร่างกายจะมีการสร้างและสะสมพลังงานไว้ โดยไม่รับรู้สิ่งแวดล้อมจากภายนอก เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ ทำให้ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) [1] ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากต่อมใต้สมอง (Pineal gland) โดยจะกระตุ้นให้สร้างในเวลาที่ไม่มีแสงหรือมีแสงสว่างน้อย เป็นผลให้ร่างกายมีอาการง่วงนอน และจะถูกยับยั้งเมื่ออยู่ภายใต้แสงสว่าง เช่น ความสว่างจากหลอดไฟ คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน เป็นต้น ซึ่งการใช้สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ก็มีอันตรายจากแสงสีฟ้าของหน้าจอ ส่งผลให้ตาแห้ง แสบตา การมองเห็นภาพผิดปกติ เกิดเป็นภาพซ้อน ปวดกล้ามเนื้อตา และทำให้ประสาทตาเสื่อมเร็วอีกด้วย โดยแสงสีฟ้าจะทำปฏิกิริยาระหว่างแสงกับสารรงควัตถุในจอตา เกิดเป็นสารอนุมูลอิสระทำให้เกิดกระบวนการเสื่อมและตายของเซลล์ มีผลให้จอตาเสื่อม [2] สามารถแก้ได้โดยลดความสว่างหน้าจอลง เนื่องจากความสว่างมาก ส่งผลให้แสงยูวีมากเช่นกัน นอกจากนี้การแช่น้ำอุ่นหรืออาบน้ำอุ่นก่อนนอน จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น [3] ดังนั้นการนอนอย่างมีประสิทธิภาพควรนอนในห้องที่มืด เพราะแสงสว่างจะรบกวนการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งจะรบกวนจังหวะการหลับ - ตื่น ควรมีการใช้แสงสีเหลืองนวล ๆ สบายตาจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกง่วงนอนได้ และต้องปรับอุณหภูมิห้องให้พอเหมาะกับตัวเองและคนรอบข้าง หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเมลาโทนินสูง จะส่งผลให้การนอนหลับเกิดขึ้นได้ง่าย และมีผลต่อระยะเวลาที่นอนนานขึ้นอีกด้วย 


Dii Supplements ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดี ผิวสดใสในทุกวันนะคะ









[1] ศิริมาศ โพธาราเจริญ สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย ธวัชชัย เตชัสอนันต์ และธรรมศักดิ์ ทวิชศรี. 2561. ผลของการบำบัดด้วยแสงจ้าต่อการนอนหลับของผู้ป่วยวิกฤตหลังผ่าตัด. เวชศาสตร์ร่วมสมัย 62(2): 239 – 251.

[2] เพลิน สุตรา และ อาทิตย์ แก้วนพรัตน์. อันตรายจากแสงสีฟ้ากับจุดภาพชัดจอตาเสื่อม. 

[3] นิชิโนะ เซจิ.2562. หลับดีมีคุณภาพด้วยเคล็ดลับฉบับสแตนฟอร์ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.


8/121 Work Place รัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230
02-117-4825    l  Line :  @diisupplements l   dii.supplements@gmail.com



Copyright ® 2019 ketshopweb.com