0

เปลี่ยนให้ผิวดูโกล์วสุขภาพดี ด้วยเม็ดสีจากแคโรทีนอยด์ธรรมชาติ


2020-06-30 12:00:02
#วิตามินและอาหารเสริม #การดูแลสุขภาพ #ผลไม้ #แครอท #มะเขือเทศ #มะละกอ #แคโรทีนอยด์ #ไลโคปีน #ผิวโกลว์ #เม็ดสีผิว #ผิวโกล์ว #ผิวพรรณ #No.7 #No.7 Glassy #Glassy

          จากกระแสนิยมของการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และผักผลไม้ในช่วงนี้ ทำให้หลายคนอาจได้ยินชื่อ แคโรทีนอยด์กันมากขึ้น แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เป็นสารพฤกษเคมีที่นอกจะให้เม็ดสีที่ทำให้ผักและผลไม้มีสีเหลือง แดง ส้มแล้ว ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังอีกด้วย  ในปัจจุบัน มีการค้นพบสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์กว่า 600 ชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่นิยมและถูกพูดถึงมากที่สุดกลุ่มหนึ่งคือ เบต้าแคโรทีน ไลโคปีน ลูทีน และซีแซนทีน


          เบต้าแคโรทีนพบมากในพืชผักผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น แครอท มะละกอ ฟักทอง เป็นต้น ในขณะที่ไลโคปีนพบในผลไม้ที่มีสีแดงและสีชมพู เช่น มะเขือเทศ แตงโม ฝรั่งไส้แดง   และสามารถพบลูทีนและซีแซนทีนได้มากในดอกแมรี่โกลด์ โกจิเบอร์รี่ และผักต่างๆเช่น กะหล่ำและปวยเล้งเป็นต้น    นอกจากคุณสมบัติที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว แคโรทีนอยด์จากธรรมชาติกลุ่มนี้ยังสามารถช่วยให้ผิวพรรณดูนวลเนียนกระจ่างใสขึ้นได้อีกด้วย


แคโรทีนอยด์ทำให้ผิวดูโกล์วขึ้นได้อย่างไร?

          โดยธรรมชาติแล้ว สีผิวของเราเกิดจากการที่ร่างกายผลิตเม็ดสีผิวขึ้นมาเพื่อปกป้องผิวหนังจากการทำลายของแสงแดด เม็ดสีผิวที่ร่างกายผลิตขึ้นเองมี 2 ชนิดคือ เม็ดสีผิวที่ออกโทนดำและน้ำตาล (eumelanin) และเม็ดสีผิวที่ออกโทนแดงและชมพู (pheomelanin)[1] สีผิวที่ปรากฏของเราจึงแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ยังมีเม็ดสีอีกชนิดหนึ่งที่ละลายในไขมันและมีคุณสมบัติไปอยู่ใต้ชั้นผิวได้เป็นอย่างดี นั่นคือแคโรทีนอยด์นั่นเอง

          

          เมื่อเม็ดสีในกลุ่มแคโรทีนอยด์ไปสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนังมากขึ้น สามารถทำให้เฉดสีผิวค่อนมาทางเหลืองหรือที่เรียกกันว่า “ผิวนวล” หรือ “ผิวโกล์ว” ได้ แต่หากมีปริมาณแคโรทีนใต้ผิวหนังมากจนเกิดไป อาจเกิดภาวะเหลืองจากแคโรทีน (carotenemia)[2] ซึ่งเมื่อหยุดรับประทานสีผิวจะกลับมาปกติได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการนำส่วนผสมที่มีแคโรทีน ลูทีน ซีแซนทีน และไลโคปีนมารวมเข้าด้วยกันด้วยสัดส่วนที่พอเหมาะ และรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม จะไม่ทำให้เกิดภาวะเหลืองดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยรับรองว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีลูทีน ร่วมกับซีแซนทีน จะทำให้ผิวดูสว่างขึ้นได้ในผู้ทดลอง[3]



[1] Human Biological Adaptability: Skin Color as an Adaptation. (2020). Retrieved 25 June 2020, from https://www2.palomar.edu/anthro/adapt/adapt_4.htm

[2] Nasser, Y., & Albugeaey, M. (2020). Carotenemia. Retrieved 25 June 2020, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK534878/

[3] Juturu, V., Bowman, J., & Deshpande, J. (2016). Overall skin tone and skin-lightening-improving effects with oral supplementation of lutein and zeaxanthin isomers: a double-blind, placebo-controlled 


8/121 Work Place รัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230
02-117-4825    l  Line :  @diisupplements l   dii.supplements@gmail.com



Copyright ® 2019 ketshopweb.com