ทุกคนอาจสงสัยว่า การนอนหลับต้องนอนให้เยอะ ๆ ถึงจะดี และเพียงพอ แต่รู้หรือไม่ว่าการนอนที่ดี และมีประสิทธิภาพ คือ การ shut down ร่างกาย และสมองให้พักผ่อนได้อย่างเต็มที่กับการนอนหลับ
วัฏจักรแห่งการนอน
โดยปกติการนอนของเราในหนึ่งรอบใช้เวลา 90 – 110 นาที สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ Non – REM (Non rapid eye movement) เป็นระยะที่เริ่มจากการนอนในลักษณะกึ่งหลับกึ่งตื่น จะเกิดคลื่นสมองเบต้า และแอลฟา เริ่มแรกกล้ามเนื้อตาจะเคลื่อนไหวช้าลง จนกระทั่งหยุดเคลื่อนไหว อุณหภูมิของร่างกาย และอัตราการเต้นของหัวใจเริ่มลดลง จากนั้นคลื่นไฟฟ้าสมองจะเปลี่ยนเป็นคลื่นเดลต้าทั้งหมด ซึ่งเป็นระยะแห่งการหลับลึก ร่างกาย และสมองสามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อตา และร่างกายไม่เกิดการเคลื่อนไหว และ REM (Rapid eye movement) เมื่อตื่นจากการนอนหรือถูกปลุก ร่างกายจะหายใจเร็ว ชีพจนเต้นเร็วขึ้น และการฝันในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สามารถจดจำเรื่องราวความฝันได้[1] ซึ่งโดยเฉลี่ยการนอนของคนทั่วไปอยู่ที่ 6 – 8 ชั่วโมง แต่สำหรับบางคนเพียงแค่ 5 ชั่วโมงก็เป็นการนอนที่เพียงพอ และมีประสิทธิภาพแล้ว[2]
หลับยาก สาเหตุมาจากอะไร ?
ภาวการณ์นอนหลับยาก เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นแสงที่สว่างเกินไป เสียงรบกวนจากสิ่งเร้า ภาวะความเครียด วิตกกังวลที่อาจเกิดจากการทำงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต อาการซึมเศร้า และท้อแท้ รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มมีที่ส่วนผสมของคาเฟอีน ที่ส่งผลให้การนอนไม่มีประสิทธิภาพ และอีกสาเหตุของการนอนไม่หลับคือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากระดับโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) และการสร้างเมลาโทนิน (Melatonin) ลดลง จึงเป็นเหตุผลของอายุที่มากขึ้น ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้นเช่นกัน[3]
สารอาหารที่เพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับ
สารอาหารที่ช่วยในการนอนหลับ ซึ่งเป็นสารสกัดที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ สารสกัดจากกาบ้าที่ช่วยเพิ่มคลื่นแอลฟา ซึ่งเป็นคลื่นแห่งการนำเข้าสู่การนอนหลับ สารสกัดจากเชอร์รีทาร์ต ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีปริมาณเมลาโทนินสูงที่สุดมากกว่าสตรอเบอร์รี 100 เท่า สารสกัดจากบาล์มที่ช่วยเพิ่มความสงบ และเพิ่มประสิทธิภาพการจำ และสารสกัดจากคาโมมายล์ที่ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด และความวิตกกังวล อีกทั้งวิตามินบีรวมยังช่วยในการทำงานของระบบประสาท และสมอง และแมกนีเซียม ช่วยในการผ่อนคลาย เพิ่มคลื่นไฟฟ้าสมอง และป้องกันการเกิดโรคไมเกรนอีกด้วย
[1] National Sleep Foundation. Learn what is really going on in your body while you’re getting your zzz’s. Available source: https://www.sleep.org/articles/what-happens-during-sleep/#, June 16,2020.
[2] National Bed Federation. How much sleep do we need ?. Available source: https://sleepcouncil.org.uk/advice-support/sleep-hub/sleep-matters/how-much-sleep-do-we-need/, June 16, 2020.
[3] อรพิชญา ไกรฤทธิ์. 2558. นอนอย่างไรที่เรียกว่าดี. แหล่งที่มา: https://www.rama.mahidol.ac.th/, 16 มิถุนายน 2563.