0

นอนท่าไหนดีต่อร่างกาย ?


2020-08-11 09:40:27
#การนอน #นอนท่าไหน #นอนท่าไหนดี #นอน #ท่านอน #วิตามินช่วยหลับ #ช่วยหลับ #No.9 #No.9 Pillow #Pillow #sleepy #sleep

นอนท่าไหนดีต่อร่างกาย 

            การนอนหลับเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เราใช้เวลาไปกับการนอน 40% ของชีวิต [1] ดังนั้นพฤติกรรมการนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากสิ่งแวดล้อมภายใน และภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับแล้ว ท่าทางของการนอนก็สำคัญเช่นกัน หลายคนมีท่าทางการนอนที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะนอนหงายราบกับที่นอน นอนตะแคง นอนคว่ำหน้า หรือนอนขด ในบางท่าก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ตื่นมาแล้วปวดคอ หลัง ไหล่ หรือสะโพก เป็นต้น ซึ่งท่าทางการนอนที่ถูกวิธีจะช่วยป้องกันหรือลดปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้น หน่วยงาน National Sleep Foundation ได้แนะนำท่านอนที่เหมาะสม คือ นอนหงาย ซึ่งเป็นท่านอนที่คนส่วนมากไม่เลือกที่จะนอน แต่ท่านี้ทำให้ศีรษะ คอ และกระดูกสันหลังอยู่ในตำแหน่งตรงกลาง และไม่มีแรงใด ๆ มากดทับ ทำให้โอกาสที่จะประสบปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นได้ยาก ร่วมกับการนอนยกขาสูงจะทำให้ลดอาการปวดหลังได้ อีกทั้งการนอนบนหมอนที่รองรับศีรษะได้พอดี จะทำให้กระเพาะอาหารอยู่ต่ำกว่าหลอดอาหาร เป็นการป้องกันโรคกรดไหลย้อน ในทางตรงกันข้ามการนอนในท่าอื่น ๆ เช่น การนอนตะแคงข้าง แม้จะทำให้อาการนอนกรนลดน้อยลง ไม่ส่งผลให้ปวดหลังหรือคอ แต่มีข้อเสียคือ อาจนำไปสู่ริ้วรอยบนใบหน้าได้ เนื่องจากใบหน้าถูกบดเบียดจากหมอน และการนอนคว่ำ ที่ทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง และคอได้ [2] นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ไม่แนะนำให้ทำ เช่น ไม่ควรล้มตัวลงนอนทันทีหลังจากทานข้าวเสร็จ เนื่องจากระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งโดยปกติร่างกายใช้ระยะเวลาในการย่อยอาหารประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง [3] การนอนทันทีจึงส่งผลให้เกิดท้องอืด โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคกรดไหลย้อน [4] อีกทั้งการเล่นโทรศัพท์ก่อนเข้านอน ส่งผลกระทบต่อการผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นสารที่ควบคุมการหลับและตื่น ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และมีผลจากแสงสีฟ้า (Blue light) ที่ส่งผลเสียต่อสายตาอีกด้วย ดังนั้นควรงดเล่นมือถืออย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้สายตาได้พักผ่อน 


References

[1] PhysioMed. Help Guide: Sleeping Posture & Positions. Available source: https://www.physiomed.co.uk/uploads/guide/file/16/Physiomed_Sleeping_
Posture_Digital.pdf, July 7, 2020.

[2] National Sleep Foundation. Your p.m. can affect a lot more than just your slumber. Available source: https://www.sleep.org/articles/best-sleep-position/, July 7, 2020.

[3] Emily Alexander. 2020. Sleeping After Eating – How long Should You Wait Before Bed? Available source: https://sleep.report/sleeping-after-eating/, July 7,2020

[4] ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. ระวัง!! กินแล้วนอน... โรคกรดไหลย้อน อาจถามหา.



8/121 Work Place รัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230
02-117-4825    l  Line :  @diisupplements l   dii.supplements@gmail.com



Copyright ® 2019 ketshopweb.com